กัญชง และ กัญชา กับประโยชน์และสรรพคุณ ที่คุณอาจจะยังไม่รู้ - well u

กัญชง และ กัญชา กับประโยชน์และสรรพคุณ ที่คุณอาจจะยังไม่รู้


หลายคนอาจจะรู้จักและเคยได้ยินชื่อ “กัญชา” กันอยู่บ่อยครั้ง แต่ในช่วงนี้ที่กระแสของ “กัญชง” เริ่มมีคนพูดถึงมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลได้ปลดล็อกให้ใช้ประโยชน์จากกัญชง เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และเศรษฐกิจ ยังมีความสับสนระหว่างพืชกัญชากับกัญชง เนื่องจากพืชสองชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดเดียวกัน อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือ Cannabaceae แถมยังสกุลเดียวกันคือ Cannabis แต่ต่างกันที่สายพันธุ์ย่อย และกัญชงมีต่อมน้ำมันที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์น้อยกว่าพืชกัญชา

กัญชง (Hemp)

เป็นพืชในวงศ์ Cannabaceae มีแหล่งกำเนิดในเอเชียกลางและแพร่กระจายไปสู่เอเชียตะวันออก อินเดีย และในทวีปยุโรป มีลำต้นสูง หนา แข็งแรง ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 6 เมตร ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว 3-4 เดือน ต้นกัญชง เป็นพืชให้ใยธรรมชาติที่มีความทนทาน วัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์ระหว่างกัญชากับกัญชงก็ต่างกันมาก นับตั้งแต่มนุษย์รู้จักการใช้พืชตระกูลนี้มาตั้งแต่โบราณ มีบันทึกประวัติศาสตร์ถึงการใช้ประโยชน์กัญชงมากกว่ากัญชา ในยุคล่าอาณานิคม นักเดินเรือ จะนำใยกัญชงมาทำเป็นเชือกและผ้าใบเรือซึ่งมีความทนทานมาก ในประเทศจีน ยุคราชวงศ์โจว (ประมาณ 1,000 ปี ก่อนคริสตศักราช) ใช้เส้นใยกัญชงทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม ส่วนเมล็ดกัญชงก็พบว่าเป็นธัญพืชที่รับประทานกันทั่วโลกมานานหลายพันปีแล้ว

กัญชา(Cannabaceae)

กัญชา เป็นพืชสกุล Cannabis อยู่ในวงศ์ Cannabaceae มี 3 สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ สายพันธุ์ซาติวา (Cannabis sativa) สายพันธุ์อินดิกา (Cannabis indica) และสายพันธุ์รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis) ส่วนคำว่ามาลีฮวนน่า (Marijuana) เป็นคำแสลงที่ใช้ส่วนดอกของต้นกัญชานำมาสูบ

กัญชากัญชง
ชื่อสามัญCannabisHemp
วงศ์วงศ์ : Cannabaceae มี 3 สายพันธุ์ย่อย ได้แก่ ซาติวา (Cannabis sativa), อินดิกา (Cannabis indica) และรูเดอราลิส (Cannabis ruderalis)วงศ์ : Cannabaceae เป็นสายพันธุ์เดียวกับ Cannabis sativa
ชื่อวิทยาศาสตร์Cannabis sativa forma indicaCannabis sativa L. subsp. Sativa
แหล่งกำเนิดSativa : แหล่งกำเนิดบริเวณเส้นศูนย์สูตร เช่น โคลัมเบีย เม็กซิโก (ทวีปอเมริกา) ตอนกลางของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอเชียกลาง และแพร่กระจายไปสู่เอเชียตะวันออก อินเดีย และในทวีปยุโรป
ลักษณะทางภายภาพมีความแตกต่างตามสายพันธุ์ความสูงประมาณ 6 เมตร (แต่สูงกว่ากัญชา) จำนวนแฉกใบ 7-9 แฉก
การเก็บเกี่ยวเก็บเกี่ยวดอกจากต้นตัวเมีย เพื่อนำมาสกัดเป็นยาเก็บเกี่ยวต้นเพื่อใช้ใยธรรมชาติ ทำเป็นวัสดุสิ่งทอ กระดาษ เชือก
อัตลักษณ์มีสาร THC และ CBD ในปริมาณเพียงพอที่ใช้รักษากลุ่มโรคบางอาการได้เส้นใยให้ปริมาณมากกว่ากัญชา และเป็นเส้นใยคุณภาพสูง

นอกจากลักษณะทางกายภาพที่ค่อนข้างต่างกันแล้ว สารสกัดที่ได้จากพืชทั้ง 2 ชนิดก็มีปริมาณที่ต่างกันด้วย กัญชงและกัญชามีสารที่เรียกว่า THC (Tetrahydroconnabinol) และ CBD (Canabidiol) ซึ่งสารเหล่านี้จะเป็นตัวแบ่งแยกพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ออกจากกัน

THC เป็นสารที่ทำให้เมาหรือเคลิบเคลิ้ม พบได้มากในกัญชา โดยมีประมาณ 1-20% ส่วนกัญชงมีสารชนิดนี้น้อยกว่า 1% ในทางการแพทย์สาร THC มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลอง

ส่วนสาร CBD ซึ่งเป็นสารที่พบได้ในกัญชงมากกว่ากัญชา คือพบประมาณ 2% แต่ในกัญชามีสารชนิดนี้อยู่น้อยมาก เมื่อเสพสารชนิดนี้เข้าไปจะไม่มีอาการเมาหรือเคลิบเคลิ้มเหมือนกัญชา คุณสมบัติทางการแพทย์ของ CBD มีหลากหลาย เช่น มีผลต่อจิต ประสาท ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นให้อยากอาหาร

ประโยชน์ของกัญชง

กัญชงมีสรรพคุณมากมาย อาทิ ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น ช่วยให้นอนหลับสบาย รักษาอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะหรือไมเกรน โดยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ช่อดอก ใบ เมล็ด เปลือก ลำต้น กิ่งก้าน และราก ซึ่งสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย ตัวอย่างเช่น 

ช่อดอก นิยมสกัดเอาสารกลุ่ม Phytocannabinoids ที่มีคุณสมบัติทางยา อาทิ CBD (สามารถบริโภคโดยตรง หรือนำไปเป็นส่วนผสมเพื่อเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล และเวชสำอางต่างๆ) Terpenes (ให้กลิ่นที่นำมาผลิตน้ำหอมและน้ำมันหอมระเหย) 

ใบ นำมาสกัดเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารและเครื่องดื่ม ปุ๋ยชีวภาพ ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง แผ่นใยไม้อัด ไฟเบอร์กลาส 

เปลือก ลำต้น ทำเป็นเส้นใย นิยมนำมาทําเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เชือก เสื้อเกราะกันกระสุนชั้นดีที่มีน้ำหนักเบา เยื่อกระดาษ วัสดุหีบห่อ ฉนวนกันความร้อน ไบโอพลาสติก แกนลำต้น มีน้ำหนักเบาใช้ทำอิฐ หรือผสมคอนกรีต (Hempcrete) สำหรับงานก่อสร้าง ส่วนประกอบรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ 

น้ำมันและสารสกัดจากเมล็ดกัญชง ใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง (อาทิ โปรตีน วิตามินอี โอเมก้า) น้ำมันจากเมล็ดกัญชง ( Hemp Seed Oil ) เป็นแหล่งอาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันจำเป็นที่มนุษย์ต้องการ

น้ำมันจากเมล็ดกัญชง ( Hemp Seed Oil )   ได้มาจากการบีบน้ำมันที่อยู่ในเมล็ดกัญชง ซึ่งมีขั้นตอนคล้ายๆกับการทำน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันมะกอก  อุดมด้วยกรดไขมันจำเป็นที่มนุษย์ต้องการและต้องได้จากอาหารเท่านั้นถึง 2 ชนิดคือ

  1. กรดไลโนเลอิก (Linolenic acid) ซึ่งจัดเป็นกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า-6 (Omega-6 Fatty Acid) โดยพบมากถึง 54-60% ในน้ำมันเมล็ดกัญชง ให้ผลดีต่อสุขภาพ คือ
    • ช่วยลดการทำงานของเกล็ดเลือด ลดโอกาสการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด 
    • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล (cholesterol)
    • ระบบเลือดไหลเวียนดีขึ้น และหัวใจทำงานน้อยลง 
    • ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้เซลล์ผิวหนัง ลดอาการแห้งกร้าน แตกขุย ริ้วรอยต่างๆ 
    • มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยลดและชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย 
    • ลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง 
    • ลดอาการแทรกซ้อนทางประสาทของผู้ป่วยเบาหวาน อาทิ อาการชาตามปลายมือและปลายเท้าช่วย
    • รักษา อาการผิดปกติของชายหญิงวัยเจริญพันธุ์ และสตรีวัยทอง เป็นต้น
  2. กรดแอลฟาไลโนเลนิก (Alpha-Linolenic acid, ALA) ซึ่งจัดเป็นกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า-3 (Omega-3 Fatty Acid) พบถึงถึง 15- 20% ในน้ำมันเมล็ดกัญชง การรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุนั้น ให้ผลดีต่อสุขภาพ คือ
    • ช่วยลดระดับความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด
    • ช่วยลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือดทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ยากขึ้น 
    • มีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดโรคความจำเสื่อม

ที่มา

  • https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/hemp-2021
  • https://www.medcannabis.go.th/artical
  • https://www.prachachat.net/d-life/news-618836
  • https://www.webmd.com/diet/health-benefits-hemp-seed-oil#1
  • https://www.researchgate.net/publication/242287666/
เพิ่มเพื่อน