กรดไหลย้อนพบได้ในทุกวัย ป้องกันได้ก่อนเป็นโรคเรื้อรัง
กรดไหลย้อนพบได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพราะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหูรูดส่วนปลาหลอดอาหาร โดยเกิดจากการที่มีความดันของหูรูดต่ำ หรือหูรูดเปิดบ่อยกว่าปกติ ทำให้กรดในกระเพราะอาหารสามารถไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหารได้
อาการของกรดไหลย้อน
- แสบร้อนบริเวณหน้าอก ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อใหญ่ การโน้มตัวไปข้างหน้า การยกของหนัก การนอนหงาย
- มีอาการเรอเปรี้ยว หรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก จนทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลอดอาหารขึ้น ได้แก่ หลอดอาหารอักเสบมีเลือดออกจากหลอดอาหาร กลืนติด กลืนลำบาก
- ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หลังจากรับประทานอาหาร
- ไอแห้งๆ เสียงแหม เจ็บคอ เกิดจากกรดไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียง ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบ
- เจ็บหน้าอก จุกคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ ต้องพยายามกระแอมบ่อยๆ
- ท้องอืด แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย
การดูแลตัวเบื้องต้นของกรดไหลย้อน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารไขมันสูง
- หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อเย็นปริมาณมาก และไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร ควรนอนหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้วอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อรักษาน้ำหนักตัว
- ไม่ใส่เสื้อรัดรูปจนเกินไป
- ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง
- พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด
กรดไหลย้อนหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา จนกลายเป็นภาวะเรื้อรัง จะส่งผลให้เกิดแผลและรุนแรงจนหลอดอาหารตีบ และอาจร้ายแรงจนทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ เนื่องจากหลอดอาหารส่วนปลายมีการสัมผัสกับกรดมากเกินไป ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคลุกลามและเรื้อรัง หากมีอาการดังกล่าว รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยาลดกรด หรือควรรีบไปรับการตรวจวินิจฉัยและจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ เพื่อรับการรักษากรดไหลย้อนอย่างถูกต้อง